วัดบัวขวัญ


พระตรีกาย

99.00 ฿


สินค้าหมด

พระตรัยรัตนวัชรยาน(พระตรัยกาย,พระตรีกาย,พระนารายณ์ทรงปืน)

จัดส่งหลังงานกฐิน พระราชทาน 31 ตุลาคม 2564 ณ.วัดบัวขวัญพระอารามหลวง

 

เดิมพระต้นแบบเป็นพระโบราณศิลปะขอม ที่สร้างตามคติ พุทธลัทธิวัชรยาน  เป็น ศิลปะเขมรแบบบายน ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอังกอร์ธม ซึ่งทรงนับถือพุทธศาสนาแบบมหายาน และด้วยเหตุที่ประ กอบด้วยรูปเคารพถึงสามองค์ในพิมพ์เดียว บางครั้งจึงมีผู้เรียกว่า "พระตรีกาย"

 

ส่วนรูปเคารพที่อยู่เบื้องขวาขององค์ประธานนั้น(ด้านซ้าย) มีลักษณะ 4 กร ได้แก่ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งหมายถึงผู้มองลงมาจากเบื้องบนด้วยความกรุณา หรือผู้เป็นใหญ่แห่งโลก ที่จุติจากพระธยานิพุทธเจ้าหรือพระอมิตพุทธ(ผู้มีแสงสว่างมิรู้จบ) ด้วยเหตุนี้ พระอวโลกิเตศวรจึงปรากฏรูปพระธยานิพุทธเจ้าประทับนั่งสมาธิอยู่เหนือศิราภรณ์(อาภรณ์ประดับเศียร) พระกรทั้ง 4 ทรงถือ พวงประคำ คัมภีร์ ดอกบัว และหม้อน้ำมนต์

 

ส่วนด้านขวามือ พระนางปรัชญาปารมิตา เทพีแห่งสติปัญญาและความเฉลียวฉลาด ในเทวาลัยที่มีอิทธิพลพุทธมหายานมักสร้างรูปเคารพของพระนางไว้ในครรภคฤห์ ทรงปรากฏในรูปมหาคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร ได้ชื่อว่าเป็นพุทธมารดาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีวรกายสีขาว เศียรเดียว สองพระกร อาจพบในท่าแสดงธรรมเทศนา หรือถือบัวขาบสายเดียวทั้งสองพระหัตถ์

 

รูปเคารพตรงกลางคือพระพุทธเจ้า(พระปางนาคปรก)ที่ประทับนั่งสมาธิอยู่เหนือขนดพญานาคสูง ๓ ชั้น ซึ่งแผ่พังพานอยู่เหนือพระเศียรรวม ๗ เศียร

 

สำหรับพระพิมพ์โบราณลักษณะเดียวกันนี้มีคนเรียกอีกชื่อว่า “นารายณ์ทรงปืน” น่าจะมาจากการมองรูปองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรมีลักษณะ 4 กร เหมือนกับพระวิษณุ หรือพระนารายณ์ และพระองค์ยังทรงถือสายบัวปัทมะที่ยาวเหยียดคล้ายกับคันศรของพระนารายณ์ ครูบาโบราณาจารย์บอกว่า ในสมัยก่อนมักจะเรียกอาวุธที่พุ่งออกไปว่า "ปืน" ดังนั้น การเรียกว่า "ทรงปืน" น่าจะสื่อถึงการ "ทรงศร" ซึ่งก็คือสายบัวชมพูหรือปัทมะขององค์อวโลกิเตศวร

 

นางปรัชญาปารมิตาเทพีแห่งปัญญา ทรงเป็นเทวนารีในพระพุทธศาสนาลัทธิวัชรยาน อยู่ประจำทิศตะวันตก

 

มหามนต์ในปรัชญาปารมิตานี้ เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นยิ่งกว่า

 เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นใดมาเทียบได้ เป็นมนต์อันประหารเสียซึ่งสรรพทุกข์ทั้งปวง

 

ให้จงกล่าวมนต์ดังนี้ :

คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา

तद्यथा- गते गते पारगते पारसंगते बोधि स्वाहा।

(ปกตินั้น บทธารณี นั้นมักจะไม่แปล แต่หากแปลจะแปลว่า

จงไป จงไป ไปถึงฝั่งโน้น ไปให้พ้นโดยสิ้นเชิง บรรลุถึงความรู้แจ้ง)


พระที่ระลึกกฐินพระราชทาน๒๕๖๔

 

พระตรํยกาย(พระตรีกาย) ที่ระลึกกฐินพระราชทานวัดบัวขวัญพระอารามหลวงปี พ.ศ.๒๕๖๔ ประกอบไปด้วย ๓ แบบ คือ

๑.เนื้อดินเผาแบบโบราณ จำนวนการสร้าง ๙,๙๙๙ องค์

 ๒.เนื้อโลหะ มีทั้งสิ้น ๕ ชนิดคือ

๒.๑ เนื้อทองคำ จำนวนการสร้าง ๙ องค์

๒.๒ เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง ๑๙๙ องค์

๒.๓ เนื้อทองเหลืองโบราณ จำนวนการสร้าง ๙๙๙ องค์

๒.๔ เนื้อทองขาวรมดำขัดเงา จำนวนการสร้าง ๙๙๙ องค์

๒.๕  เนื้อทองแดงรมดำขัดเงา จำนวนการสร้าง ๙๙๙ องค์

 

๓.พระช่อโลหะ ๑๙องค์ เนื้อทองแดงโบราณ จำนวนการสร้าง ๑๙ ช่อ

พิธีพุทธาภิเษกจัดขึ้นดังนี้

ครั้งที่๑  ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔

พิธีพราหมณ์บวงสรวงเช้า และ หลวงปู่หยาง  เทวธมโม สำนักสงฆ์บ้านวังขอนจิตตภาวนาจังหวัดนครราชสีมา อฐิษฐานเดี่ยว

ครั้งที่๒ ๙ ตุลาคม ๒๕๖๔

พิธีพราหมณ์บวงสรวงเช้า @ ๑๑.๐๐ น.

โดยมีรายนามเกจิอาจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิตดังต่อไปนี้

 1.พระนันทวิริยาภรณ์ (หลวงพ่ออ่าง) วัดใหญ่สว่างอารมณ์ จ.นนทบุรี

2.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง จ.นนทบุรี

3.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ วิ. (เจ้าคุณสุรศักดิ์ วัดประดู่พระอารามหลวง จ.สมุทรสงคราม

4.หลวงพ่อบุญค้ำ ปุญญูปถมโภ วัดชัยเภรีย์ จ.สุพรรณบุรี

 

พระชุดนี้ยังได้รับการอธิษฐานจิตตลอดพรรษาในพระวิหารของวัดบัวขวัญพระอารามหลวง